June 16 2025
Environmental Site Assessment (ESA) หรือ การประเมินสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ คือกระบวนการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ดินหรือทรัพย์สิน เพื่อประเมินว่าพื้นที่มีการปนเปื้อนของสารอันตรายหรือมลพิษอยู่หรือไม่ โดยการจัดทำ ESA จะทำในขั้นตอนก่อนมีการตัดสินใจเชิงธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อหรือควบรวมกิจการ เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ (Environmental Due Diligence: EDD)
การประเมินสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ หรือ ESA จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงทางกฎหมายและการเงิน หากพบว่าพื้นที่มีการปนเปื้อน ภายหลังการซื้อขายหรือพัฒนา ผู้ถือครองอาจต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูให้เป็นไปตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม

Share
June 16 2025
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ หรือ CFP คือ การประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาตลอด “วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์” ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การกระจายสินค้า/ขนส่ง การใช้งานของผู้บริโภค การกำจัด/รีไซเคิล โดยการประเมินนี้อ้างอิงตามหลัก การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment หรือ LCA) ซึ่งช่วยให้เห็นภาพรวมผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน และสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการแนวทางเพื่อวางแผนลดการปล่อยคาร์บอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Share
June 16 2025
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) หมายถึง ปริมาณการปล่อยและ/หรือการดูดกลับของก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในองค์กรตลอดช่วงระยะเวลาที่กำหนด (โดยทั่วไปเป็นรายปี) ซึ่งมีหน่วยวัดเป็น “ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า” (tCO₂e)

Share
June 9 2025
ในยุคที่หลายองค์กรให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ทั้งในมิติด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) ทำให้การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) เป็นสิ่งจำเป็นที่ลูกค้า นักลงทุน และคู่ค้าให้ความสนใจมากขึ้น

Share
June 9 2025
ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการลดหรือกักเก็บจากการดำเนินโครงการที่มีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่สิ่งแวดล้อม มีหน่วยเป็น “ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (TonCO2eq)” โดยโครงการที่มีเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่มาตรฐานต่างๆกำหนดไว้ และจะต้องผ่านการทวนสอบ และได้รับการรับรองจากมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ

Share
June 9 2025
ในยุคที่ผู้บริโภคและตลาดโลกให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ความโปร่งใส และความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น การมีระบบตรวจสอบที่น่าเชื่อถือจึงกลายเป็นหัวใจของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และหนึ่งในมาตรฐานระดับโลกที่ตอบโจทย์นี้ได้อย่างครอบคลุมก็คือ ISCC (International Sustainability and Carbon Certification)

Share
June 4 2025
มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรหมแดน (CBAM) เป็นหนึ่งในกลไกภายใต้ข้อกำหนด Fit for 55 ของสหภาพยุโรป (EU) เพื่อสนับสนุนเป้าหมายและนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ต้องการจะไปถึงเป้าหมาย Climate Neutral ในปี 2050
ผ่านมาเกือบ 2 ปี นับตั้งแต่มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรหมแดนของสหภาพยุโรป หรือ CBAM ได้ประกาศใช้เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2566 CBAM ผู้ประกอบการที่ส่งออกสินค้าภายใต้มาตรการ CBAM ไปยังสหภาพยุโรปต้องปรับตัวให้สามารถดำเนินการตามข้อกำหนดของมาตรการ CBAM โดยอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบในประเทศไทยหลักๆ ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กหล้า อะลูมิเนียม โดยในอนาคตอาจมีการขายขอบเขตของสินค้าไปยังผลิตภัณฑ์ปลายน้ำมากขึ้น

Share
June 4 2025
ฉลากข้อมูลสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ (Environmental Product Declaration: EPD) เป็นฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 3 ตามมาตรฐาน ISO 14025:2006 โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับฉลากที่แสดงรายการส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ แต่เพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) ตั้งแต่กระบวนการจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน จนถึงการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังหมดอายุการใช้งาน โดยฉลาก EPD จะมีการระบุปริมาณผลกระทบที่ผลิตภัณฑ์มีต่อสิ่งแวดล้อมในประเด็นสำคัญต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

Share
June 4 2025
International Renewable Energy Certificates หรือ I-RECs หรือในภาษาไทยเรียกว่าใบรับรองพลังงานหมุนเวียน เป็นประเภทหนึ่งของการรับรองคุณลักษณะทางพลังงาน หรือ Energy Attribute Certificates (EAC) และจัดเป็นเอกสารรับรองการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนว่ามีไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนถูกผลิตขึ้นและถูกส่งเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอย่างถูกต้อง โดยไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 1 MWh เท่ากับ 1 I-REC

Share
May 26 2025
“Greenhouse gases” หรือที่เราอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า “ก๊าซเรือนกระจก” เป็นแก๊สชนิดที่ล่องลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก และสามารถกักเก็บและแผ่รังสีความร้อนที่มาจากการปลดปล่อยของโลกได้ ซึ่งหากมีในปริมาณที่พอดีพอเหมาะจะทำให้โลกอบอุ่นและเหมาะแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอย่างเรา ๆ แต่ถ้าหากมีปริมาณที่มากเกินไปจนทำให้รู้สึกร้อนเช่นในปัจจุบัน อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางลบเพิ่มขึ้นได้

Share
May 26 2025
ในยุคที่ความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้นสำหรับธุรกิจต่าง ๆ การประเมินและการจัดการกับความยั่งยืนในองค์กรกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว ด้วยเหตุนี้ องค์กรทั่วโลกจึงหันมาใช้บริการ ‘EcoVadis’ แพลตฟอร์มการจัดอันดับการบริหารจัดการความยั่งยืนในระดับมาตรฐานสากล ที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2007

Share
May 26 2025
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 คือ กฎหมายแม่บทที่ประกาศใช้แทนที่พระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พ.ศ. 2510 โดยได้มีการประกาศครั้งแรกในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2535 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำกับดูแลการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายภายในประเทศไทย

Share