การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon footprint of product: CFP)
การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ คืออะไร
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ หรือ CFP คือ การประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาตลอด “วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์” ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การกระจายสินค้า/ขนส่ง การใช้งานของผู้บริโภค การกำจัด/รีไซเคิล โดยการประเมินนี้อ้างอิงตามหลัก การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment หรือ LCA) ซึ่งช่วยให้เห็นภาพรวมผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน และสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการแนวทางเพื่อวางแผนลดการปล่อยคาร์บอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำไมถึงต้องประเมิน CFP ?
✅ รู้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ในแต่ละขั้นตอน
✅ วางแผนลดการปล่อยคาร์บอนได้อย่างตรงจุด
✅ ลดการใช้พลังงาน วัตถุดิบ และของเสียที่ไม่จำเป็น
✅ ปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม
✅ สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
ขอบเขตการประเมิน CFP
การประเมินจะแบ่งได้เป็น 2 ขอบเขตหลักๆ คือ
-
- Business to Business (B2B) หรือ Cradle to gate จะพิจารณาเฉพาะส่วนของการได้มาซึ่งวัตถุดิบ จนกระทั่งได้ผลิตภัณฑ์ แต่จะไม่รวมการใช้งานและกำจัดซาก
- Business to Customer (B2C) หรือ Cradle to grave จะพิจารณาตลอดทั้งชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การผลิตจนได้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงใช้และการกำจัดซากผลิตภัณฑ์
การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์
Emission = Activity Data x Emission factor
การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ สามารถทำได้โดยเริ่มจากการกำหนดขอบเขตว่าจะประเมินแค่ช่วงผลิต (B2B) หรือประเมินตลอดอายุผลิตภัณฑ์ (B2C) จากนั้นเก็บข้อมูลในแต่ละขั้นตอน เช่น:
-
- ปริมาณวัตถุดิบที่ใช้
- พลังงานและน้ำที่ใช้ในกระบวนการ
- ระยะทางและรูปแบบของการขนส่ง
- วิธีการใช้งานและกำจัดผลิตภัณฑ์
เมื่อได้ข้อมูลแล้วนำมาคูณกับค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor) ที่กำหนดไว้ สุดท้ายรวมผลจากทุกขั้นตอน ก็จะได้ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทั้งหมดของผลิตภัณฑ์
การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์เป็นกระบวนการที่สำคัญในการวัดและจัดการผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ข้อมูลนี้ช่วยให้ธุรกิจวางแผนปรับปรุงกระบวนการผลิตและลดการปล่อยก๊าซได้อย่างมีประสิทธิภาพ