การจัดการด้านสารเคมีและการปฏิบัติตามกฎหมาย

ธุรกิจสารเคมี

          ในปัจจุบันอุตสาหกรรมทางด้านสารเคมี มีการเจริญเติบโตและขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสารเคมีต่างๆ ได้ถูกใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้น หรือใช้เป็นองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ แต่อย่างไรก็ตามหากมีการใช้สารเคมีดังกล่าวไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้ และสิ่งแวดล้อมโดยรอบได้ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้น ประเทศไทยได้บังคับใช้พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายหลักในการควบคุมการดำเนินการของสารเคมีที่เข้าข่ายความเป็นอันตรายในกิจกรรมการผลิต การนำเข้า การส่งออกและการครอบครอง ของสารเคมีและผลิตภัณฑ์ที่มีองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเป็นวัตถุอันตราย


บริการของเรา

Green and Blue Planet Solutions บริษัทที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินการด้านวัตถุอันตรายและสารเคมี เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และความพึงพอใจต่อลูกค้าให้มากที่สุด จึงมั่นใจได้ว่าเราจะให้ความสำคัญต่อการดำเนินการงานธุรกิจของท่านได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นในการให้บริการลูกค้าตามหลักวิชาชีพและความซื่อสัตย์ เน้นการแก้ไขปัญหาของลูกค้าอย่างถูกต้องและบริการอย่างเอาใจใส่ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก นอกจากนี้เรายังมีการอบรมและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มองค์ความรู้และประสิทธิภาพในการทำงาน

          หากท่านเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับวัตถุอันตรายและสารเคมี ที่กำลังเกิดความสับสนในการดำเนินการทั้งในด้านของการนำเข้า การผลิต การส่งออก และการครอบครองวัตถุอันตราย รวมถึงมีข้อสงสัยว่าผลิตภัณฑ์นั้น เป็นวัตถุอันตรายหรือไม่? ทางบริษัทของเรามีบริการต่างๆ ไว้รองรับท่านดังนี้

  • การสมัครสมาชิกในระบบต่างๆ ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม
  • การยื่นหารือเคมีภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์กับทางกรมโรงงานอุตสาหกรรม
  • การยื่นคำขอเพิ่ม CAS No. เข้าสู่ระบบหารือเคมีภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม
  • การยื่นหารือเคมีภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์ กรณีมีส่วนผสมที่เป็นความลับทางการค้า (Confidential Business Information; CBI)
  • การยื่นหารือเคมีภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์ กรณีมีองค์ประกอบตะกั่ว
  • การยื่นหารือเคมีภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์ กรณีมีองค์ประกอบไม่มี CAS No.
  • การดำเนินการตามขั้นตอนการนำเข้าวัตถุอันตรายตามแต่ละชนิด กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม
  • การแจ้งข้อเท็จจริง วอ./อก. 6
  • การแจ้งข้อเท็จจริง วอ./อก. 32
  • ฯลฯ

เรายินดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนแผนดำเนินการทางธุรกิจของท่านให้ดำเนินได้อย่างราบรื่น

หากท่านพบข้อสงสัยอื่นเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ [Link]


พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย

          พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ถูกประกาศใช้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 ภายใต้การดูแลรับผิดชอบของ 4 กระทรวง 6 กรม โดยขอบเขตการรับผิดชอบขึ้นกับภารกิจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน รวมถึงวัตถุประสงค์ของการนำวัตถุอันตรายไปใช้ ดังนี้

  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    • กรมวิชาการเกษตร : รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ในทางการเกษตร
    • กรมปศุสัตว์ : รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ทางปศุสัตว์
    • กรมประมง : รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ทางการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • กระทรวงสาธารณสุข
    • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา : รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ในบ้านเรือน หรือทางสาธารณสุข
  • กระทรวงอุตสาหกรรม
    • กรมโรงงานอุตสาหกรรม : รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ในทางอุตสาหกรรม
  • กระทรวงพลังงาน
    • กรมธุกิจพลังงาน : รับผิดขอบวัตถุอันตรายที่เป็นก๊าซปิโตรเลียม

          ปัจจุบัน พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย มีทั้งหมด 4 ฉบับ ดังนี้

พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 6 เมษายน พ.ศ. 2535 7 เมษายน พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 30 เมษายน พ.ศ. 2562 27 ตุลาคม พ.ศ. 2562

     ในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ได้กำหนดความหมายของ “วัตถุอันตราย” ดังนี้
          (1) วัตถุระเบิดได้
          (2) วัตถุไวไฟ
          (3) วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์
          (4) วัตถุมีพิษ
          (5) วัตถุที่ทำให้เกิดโรค
          (6) วัตถุกัมมันตรังสี
          (7) วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
          (8) วัตถุกัดกร่อน
          (9) วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
          (10) วัตถุอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใด ที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม

ประเภทของวัตถุอันตราย

          ได้แบ่งวัตถุอันตรายออกเป็น 4 ประเภท ตามความจำเป็นแก่การควบคุม ดังนี้

  • วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้แก่วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
  • วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ได้แก่วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดด้วย
  • วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ได้แก่วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องได้รับใบอนุญาต
  • วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ได้แก่วัตถุอันตรายที่ห้ามให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน หรือการมีไว้ในครอบครอง

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย

          เป็นบัญชีรายชื่อสารเคมีที่ใช้กำหนดประเภทวัตถุอันตรายของสารเคมี ซึ่งปัจจุบันได้มีประกาศทั้งสิ้น 7 ฉบับ ดังนี้

พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้
บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556
แก้คำผิดในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556
27 กันยายน พ.ศ. 2556
7 ตุลาคม พ.ศ. 2557
28 กันยายน พ.ศ. 2556
บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559
แก้คำผิดในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 และ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2559
12 มกราคม พ.ศ. 2560
28 กันยายน พ.ศ. 2560
13 มกราคม พ.ศ. 2560
บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560 11 มกราคม พ.ศ. 2561 12 มกราคม พ.ศ. 2561
บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562 16 ตุลาคม พ.ศ. 2562 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562
บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2563 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563
บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2565 21 ธันวาคม พ.ศ. 2565 22 ธันวาคม พ.ศ. 2565

การปฏิบัติตามกฎหมาย

          การดำเนินการและการปฏิบัติตามกฎหมายในกิจกรรมการผลิต การนำเข้า การส่งออก และการครอบครองวัตถุอันตรายจะขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุอันตรายและวัตถุประสงค์ของการใช้งานสารเคมีและผลิตภัณฑ์นั้นๆ ตามระเบียบของหน่วยงานผู้รับผิดชอบ ซึ่งการดำเนินการและความรับผิดชอบในการประกาศใช้กฎหมายส่วนใหญ่ จะเป็นของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยตัวอย่างกฎหมายที่สำคัญ เช่น

          เมื่อพบว่าผลิตภัณฑ์ที่เราสนใจอยู่นั้นเป็นวัตถุอันตราย ซึ่งในการดำเนินการสำหรับผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายนั้น ก็จะมีแนวทางในการดำเนินการที่แตกต่างกัน โดยสามารถสรุปเป็นตารางได้ดังนี้

วัตถุอันตราย ใบสำคัญการขึ้นทะเบียน (วอ./อก. 1 และ 2) ใบแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 (วอ./อก. 5) ใบอนุญาต
ผลิต (วอ. 1 และ 2)
นำเข้า (วอ. 3 และ 4)
ส่งออก (วอ. 5 และ 6)
ครอบครอง (วอ. 7 และ 8)
แจ้งข้อเท็จจริง
วอ./อก. 6

(ก่อนนำหรือส่งวัตถุอันรายออกจากด่านศุลการกร)
แจ้งข้อเท็จจริง
วอ./อก. 7

(แจ้ง 2 ครั้ง/ปี ภายในเดือน ม.ค. กับ ก.ค.)
แจ้งข้อเท็จจริง
วอ./อก. 32

(แจ้งครั้งเดียว
ภายใน มิ.ย.)
วัตถุอันตรายชนิดที่ 1
(บัญชี 5.1, 5.4)
ผู้นำเข้า/ผู้ส่งออก
วัตถุอันตรายชนิดที่ 1
(บัญชี 5.6)
ผู้ผลิต (เฉพาะสารเดี่ยว)/ผู้นำเข้า
วัตถุอันตรายชนิดที่ 2
(บัญชี 5.1-5.5)
ผู้ผลิต/ผู้นำเข้า ผู้ผลิต/ผู้นำเข้า/ผู้ส่งออก/ผู้ครอบครอง ผู้นำเข้า/ผู้ส่งออก
วัตถุอันตรายชนิดที่ 3
(บัญชี 5.1-5.5)
ผู้ผลิต/ผู้นำเข้า ผู้ผลิต/ผู้นำเข้า/ผู้ส่งออก/ผู้ครอบครอง ผู้นำเข้า/ผู้ส่งออก
วัตถุอันตรายตามท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฯ ทั้ง 206 รายการ ผู้ผลิต/ผู้นำเข้า/ผู้ส่งออก/ผู้ครอบครอง
***วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ห้ามผลิต/นำเข้า/ครอบครอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตเฉพาะกรณีเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ***

 

          หากคุณเป็นเจ้าของกิจการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี เราขอแนะนำให้คุณสำรวจเบื้องต้นว่าสารเคมี หรือผลิตภัณฑ์ใดภายใต้การดูแลของคุณเข้าข่ายการเป็นวัตถุอันตรายตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 หรือไม่ และดำเนินการปฏิบัติตามข้อกำหนดให้ถูกต้องเพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ซึ่งการฝ่าฝืนข้อบังคับมีโทษสูงสุดที่กำหนดตามข้อกฎหมาย คือการระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


FAQ

1. GHS คืออะไร

     ตอบ GHS ย่อมาจาก Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals คือ ระบบการจัดกลุ่มสารเคมี การติดฉลาก และการแสดงรายละเอียดบนเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet : SDS) เพื่อให้แต่ละประเทศสามารถสื่อสารและเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอันตรายที่เกิดจากสารเคมีในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะช่วยลดความซ้ำซ้อนและค่าใช้จ่ายในการทดสอบและประเมินสารเคมี ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นว่าการใช้สารเคมีแต่ละประเภทจะถูกต้องตามวัตถุประสงค์ โดยไม่เกิดผลเสียหรืออันตรายต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด

2. SDS คืออะไร

     ตอบ SDS ย่อมาจาก Safety Data Sheet หรือ เอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี จัดทำโดยผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า เป็นเอกสารที่แสดงข้อมูลของสารเคมีแต่ละตัวเกี่ยวกับความเป็นอันตราย พิษ วิธีใช้ การเก็บรักษา การขนส่ง การกำจัดและการจัดการอื่นๆ และส่วนใหญ่จะจัดทำโดยอ้างอิงตามมาตรฐาน GHS

3. ในการดำเนินการเมื่อผู้ผลิตมีองค์ประกอบที่เป็นความลับทางการค้า จะสามารถดำเนินการได้อย่างไร

     ตอบ ดำเนินการยื่นหารือเคมีภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์ กรณีมีส่วนผสมที่เป็นความลับทางการค้า (Confidential Business Information; CBI)

4. ในการดำเนินการเมื่อไม่ทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นวัตถุอันตรายหรือไม่ สามารถดำเนินการตรวจสอบเบื้องต้นได้อย่างไร

     ตอบ สอบถามข้อมูลเอกสารแสดงข้อมูลความปลอดภัย (SDS) ของผลิตภัณฑ์นั้นจากผู้ผลิต จากนั้นดำเนินการตรวจสอบว่าเข้าข่ายตาม พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 หรือไม่

5. จะทราบได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามาเป็นวัตถุอันตราย

     ตอบ ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลของผลิตภัณฑ์ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย

6. เมื่อตรวจสอบพบว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นวัตถุอันตราย ต้องดำเนินการอย่างไร

     ตอบ วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 2 และ 3 มีขั้นตอนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการดำเนินการ เช่น การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการครอบครอง ส่วนวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ห้ามดำเนินการใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตในกรณีใช้เป็นสารมาตรฐานในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเท่านั้น

7. เมื่อได้รับอนุญาตให้นำเข้าหรือส่งออกวัตถุอันตราย จะต้องดำเนินการอย่างไรก่อนนำหรือส่งวัตถุอันตรายออกจากด่านศุลกากร

     ตอบ ดำเนินการแจ้งข้อเท็จจริง วอ./อก. 6

8. เมื่อมีส่วนเกี่ยวข้องกับวัตถุอันตรายตามแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฯ ทั้ง 206 รายการ จะต้องดำเนินการอย่างไร

     ตอบ ดำเนินการแจ้งข้อเท็จจริง วอ./อก. 7

9. เมื่อมีการผลิตหรือนำเข้าวัตถุอันตรายตามบัญชี 5.6 ต้องดำเนินการอย่างไร

     ตอบ ดำเนินการตรวจสอบว่าเข้าข่ายเกณฑ์การแจ้งข้อเท็จจริง วอ./อก.32 หรือไม่ โดยเมื่อเข้าข่ายจะต้องดำเนินการภายในวันที่ 30 มิถุนายนของปีถัดไป

10. เมื่อใบสำคัญทางวัตถุอันตรายหมดอายุ สามารถต่ออายุได้หรือไม่

     ตอบ ไม่สามารถต่ออายุได้ ซึ่งในการต่ออายุนั้นต้องดำเนินการก่อนใบสำคัญทางวัตถุอันตรายหมดอายุ