มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรหมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism; CBAM)
มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรหมแดน (CBAM) คืออะไร?
ในปี 2563 คณะกรมมาธิการยุโรปอนุมัติแผนปฏิรูปสีเขียว หรือ European Green Deal เพื่อช่วยผลักดันให้สหภาพยุโรปไปถึงเป้าหมายความเป็นกลางทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Neutral) ภายในปี 2593 (2050)
จากนั้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 มีการจัดทำข้อเสนอนโยบาย Fit for 55 ซึ่งจะทำให้ทุกภาคส่วนบรรลุเป้าหมายนี้ โดยมีมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรหมแดน (CBAM) เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย Fit for 55 ซึ่ง CBAM จัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดการแข่งขัน และราคาที่ยุติธรรม ระหว่างการผลิตสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนสูงภายในสหภาพยุโรปและผู้ผลิตภายนอกที่นำสินค้าเข้าไปยังสหภาพยุโรป อีกทั้งเพื่อส่งเสริมการผลิตที่สะอาดนอกสหภาพยุโรป มาตรการ CBAM ส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการในไทยที่ส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรป โดยครอบคลุมสินค้า 6 ประเภท ได้แก่ ซีเมนต์ เหล็กและเหล็กกล้า อลูมิเนียม ปุ๋ย ไฟฟ้า และไฮโดรเจน
มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรหมแดน (CBAM) มีกลไกอย่างไร?
CBAM มีผลบังคับใช้ในช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transitional Period) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566 โดยจะสิ้นสุดช่วงเปลี่ยนผ่านในสิ้นปี 2568 ส่งผลให้ผู้ประกอบนอกสหภาพยุโรปที่ส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรป จะต้องรายงานค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Embedded Emission) ในแต่ละไตรมาสให้กับผู้นำเข้าหรือผู้ซื้อในสหภาพยุโรป (EU Importer) ช่วงเปลี่ยนผ่านนี้จะช่วยให้ผู้ผลิตนอกสหภาพยุโรปได้ศึกษาข้อกำหนด เก็บรวบรวมข้อมูล และรายงานค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้าโดยไม่มีความจำเป็นต้องทวนสอบรายงาน และยังไม่มีกระบวนการเสียค่าปรับสำหรับการปล่อยคาร์บอนของสินค้าในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน สำหรับการทวนสอบความถูกต้องของรายงานจะดำเนินการโดยหน่วยงานอิสระภายนอกซึ่งมีความจำเป็นต้องทวนสอบรายงาน ตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป
หากผ่านพ้นช่วงเปลี่ยนผ่านปี 2568 ผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตสินค้าส่งออกไปยังสหภาพยุโรปในประเทศไทยต้องปรับตัวอย่างไร ?
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไปจะเป็นช่วง Definitive Period ซึ่งผู้นำเข้าสินค้าภายใต้มาตรการ CBAM ในสหภาพยุโรป (EU Importer) จะต้องรายงานปริมาณสินค้าที่นำเข้าและค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้า (Embedded Emission) ภายในวันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปี โดยรายงานฉบับแรกจะต้องส่งภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2570
เมื่อมีการบังคับใช้มาตรการ CBAM ในช่วงระยะเวลาที่กำหนด ผู้นำเข้าในสหภาพยุโรปต้องมีการชำระค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้าที่นำเข้า (Embedded Emission) ผ่านการซื้อ CBAM Certificates ซึ่งมีอายุสองปีหลังจากออกใบรับรอง โดยราคานั้นจะขึ้นอยู่กับราคาเฉลี่ยรายสัปดาห์ของ EU Emission Trading System (EU ETS) ก่อนที่จะนำเข้าสินค้า เพื่อให้ราคามีความใกล้เคียงกันกับระบบ EU ETS ให้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ภายใต้มาตรการ CBAM จะไม่มีระบบ ‘Cap and Trade’ เหมือนกับการบังคับใช้ของ EU ETS
ในปี 2573 (2030) คาดว่าจะมีการขยายประเภทสินค้าที่เข้าข่ายต้องรายงานตามมาตรการ CBAM เพื่อให้ครอบคลุมสินค้าที่อยู่ในขอบเขต EU ETS ทั้งหมด
OUR SERVICES
GBP ให้คำปรึกษาการคำนวณค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Embedded Emission) และการจัดทำรายงานตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป สำหรับสินค้าที่อยู่ภายนขอบเขต 6 ประเภทแรกที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป เราเสนอบริการที่หลากหลายเพื่อช่วยให้ลูกค้าของเราได้เข้าใจกลไกของมาตรการ CBAM การดำเนินการ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการ รวมถึงแนวทางการพัฒนาธุรกิจและองค์กรเพื่อคงความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลกได้อย่างยืน
Consulting ให้คำปรึกษาด้านข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรการ CBAM |
|
Training อบรมเชิงเทคนิคและเชิงปฏิบัติการในการจัดทำรายงาน |
|
Reporting คำนวณค่า Embedded Emissions และจัดทำรายงาน |
OUR PROJECT
ทีมผู้เชี่ยวชาญของ GBP ได้จัดทำรายงานค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามวิธีการของสหภาพยุโรป โดยได้จัดทำและส่งรายงานนี้ให้กับผู้นำเข้าสินค้าประเภทเหล็กและเหล็กกล้าจากโรงงานผลิตของลูกค้าในประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์
โปรด ติดต่อเรา เพื่อขอคำปรึกษาและการจัดทำรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามมาตรการ CBAM ของสหภาพยุโรป