เนื่องด้วยปัจจุบันการประกอบกิจการของโรงงานอาจมีการเก็บหรือใช้สารเคมีที่มีอันตรายเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากไม่มีการบริหารจัดการสารเคมีในโรงงานให้เหมาะสม อาจเป็นสาเหตุนำไปสู่อุบัติเหตุที่มีผลกระทบและอันตรายต่อประชาชน ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อมทั้งภายในโรงงานและชุมชนโดยรอบได้ เพื่อเป็นการกำหนดให้มีการป้องกันและแก้ปัญหาดังกล่าว จึงสมควรที่จะมีการปรับปรุง แก้ไขและเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ดูเพิ่มเติมกระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวงเรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 เผยแพร่เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564 โดยยกเลิกกฎกระทรวงเรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 มีสาระสำคัญในการกำหนดให้นายจ้าง จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน และเพื่อให้การทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร และอุปกรณ์อื่นๆมีมาตรฐานชัดเจนเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างมากขึ้น
ดูเพิ่มเติมกระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกกฎกระทรวง เรื่อง กำหนดประเภท ชนิด และขนาดของโรงงาน (ฉบับ 2) พ.ศ. 2564 เผยแพร่เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 โดยยกเลิกความในลำดับที่ 42 แห่งบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดของโรงงาน พ.ศ. 2563 เพิ่มเติมโรงงานประกอบกิจการทำเคมีภัณฑ์ หรือสารเคมี หรือวัสดุเคมี โดยกระบวนการเคมีชีวภาพ และการผลิตพลาสติกชีวภาพ 3 ประเภทให้เป็นโรงงานลำดับที่ 42 จำพวกที่ 3
ดูเพิ่มเติมประกาศได้กำหนดความหมายของคำว่า “ขยะพลาสติก” หมายถึงชิ้นงาน หรือชิ้นส่วนพลาสติกที่ใช้งานแล้วหรือไม่ก็ตามจนถูกนำไปทิ้ง หรือไม่เป็นที่ต้องการใช้อีกต่อไป หรือเสื่อมสภาพจนไม่สามารถใช้งานได้ หรือมีการปนเปื้อนกับขยะอื่นหรือวัสดุประเภทอื่น และ “เศษพลาสติก” หมายความว่า เศษ เศษตัดและของที่ใช้ไม่ได้ที่เป็นพลาสติกไม่ว่าใช้แล้วหรือไม่ก็ตาม ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรประเภท 39.15
ดูเพิ่มเติมประกาศฉบับนี้ได้ระบุนิยามของคำว่า “แมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค” “วิธีการที่เหมาะสม” “พื้นที่การผลิต” “สถานประกอบกิจการ” และ “ผู้ดำเนินกิจการ” และ กำหนดวิธีการดำเนินการของผู้ดำเนินกิจการสถานประกอบกิจการการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคตามหลักเกณฑ์หลักๆดังนี้ 1. หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสถานที่ตั้งและอาคารสถานประกอบกิจการ 2. หลักเกณฑ์เกี่ยวกับกระบวนการผลิตและเครื่องมือ เครื่องใช้ 3. หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสุขาภิบาล 4. หลักเกณฑ์ในการป้องกัน และกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค นอกจากปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทั้ง 4 ข้อแล้ว ยังมีหลักเกณฑ์เพิ่มเติมที่จำเป็นต้องปฏิบัติตามโดยแบ่งสถานประกอบการเป็น 3 กลุ่มซึ่งมีหลักเกณฑ์เพิ่มเติมที่แตกต่างกัน
ดูเพิ่มเติม© 2019 Green and Blue Planet Solutions. All Rights Reserved.