กำหนดให้เจ้าของแหล่งกำเนิดมูลฝอย เช่น อาคาร สถานที่จำหน่ายและสะสมอาหาร หรือโรงงาน จะต้องดำเนินการคัดแยกและจัดเตรียมภาชนะที่ใช้บรรจุขยะมูลฝอยแต่ละประเภทตามคุณสมบัติที่กำหนด รวมถึงการกำกับข้อความหรือสัญลักษณ์แสดงการรองรับของมูลฝอยแต่ละประเภทบนบรรจุภัณฑ์ โดยจะต้องมีจำนวนเพียงพอต่อปริมาณของขยะมูลฝอยที่ก่อกำเนิดในแต่ละวัน โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะต้องควบคุมไม่ให้มูลฝอยที่เป็นสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานปะปนออกมากับมูลฝอยตามข้อบัญญัตินี้
ดูเพิ่มเติมกำหนดให้นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชีที่ 1 และบัญชีที่ 2 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 2 คนและ 20 คนขึ้นไปตามลำดับ ตามที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ดำเนินการประเมินอันตราย ศึกษาผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงาน และจัดทำผลการประเมินอันตราย แผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และแผนควบคุมดูแลลูกจ้างและสถานประกอบกิจการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หรือนับแต่วันที่มีจำนวนลูกจ้างครบตามที่กำหนด แล้วแต่กรณี และจัดให้มีการทบทวนการดำเนินการดังกล่าวทุก ๆ 3 ปี ในกรณีที่มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร อุปกรณ์ วิธีการทำงาน หรือดำเนินการใด ๆ ที่ส่งผลให้สภาวะการทำงานเปลี่ยนแปลงไป นายจ้างจะต้องดำเนินการให้ครอบคลุมทั้งก่อน ระหว่าง และหลังดำเนินการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุง โดยให้แล้วเสร็จไม่เกิน 30 วันและเก็บผลการดำเนินการดังกล่าวไว้ ณ สถานประกอบกิจการเพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัยสามารถตรวจสอบได้
ดูเพิ่มเติมยกเลิกประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 76/2560 เรื่อง กำหนดมาตรฐานทั่วไปในการระบายน้ำเสียลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางในนิคมอุตสาหกรรม ลงวันที่ 3 มิ.ย. 2560 โดยกำหนดการดำเนินการออกแบบก่อสร้างระบบระบายน้ำเสียตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
ดูเพิ่มเติมกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมจึงได้จัดทำ ร่าง พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ... และขอเชิญเข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ พร้อมกับร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ – 27 มีนาคม 2567 เวลา 8.30 - 16.30 น. ทั้งใน 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมีรายละเอียดดังนี้
ดูเพิ่มเติมในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เผยแพร่ "ร่าง ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การแจ้งข้อเท็จจริงของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ...." โดยร่างประกาศฉบับนี้ ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ตระหนักถึงเหตุการณ์การนำสารประกอบไซยาไนด์ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์และก่อเหตุอาชญากรรม เนื่องจากความเป็นพิษเฉียบพลัน จึงส่งผลร้ายแรงแม้จะใช้ในปริมาณที่น้อย และปัจจุบันทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีการกำหนดสารประกอบไซยาไนด์ทั้ง 6 รายการ ที่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครอง ต้องดำเนินการแจ้งข้อเท็จจริงตามแบบ วอ./อก. 7 ซึ่งยังเหลืออีก 10 รายการ ที่ยังไม่มีการกำหนดให้ดำเนินการแจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าว
ดูเพิ่มเติม© 2019 Green and Blue Planet Solutions. All Rights Reserved.