ในวันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2568 กระทรวงอุตสาหกรรมเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ ร่าง พระราชบัญญัติจัดการกากอุตสาหกรรม พ.ศ. .... เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยเกิดปัญหาการสะสมของกากอุตสาหกรรม ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และซากรถยนต์จานวนมาก อีกทั้งแนวโน้มการใช้แบตเตอรี่ก็เพิ่มมากขึ้นในรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและอุปกรณ์แปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นกระแสไฟฟ้าของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ เพื่อให้เกิดการจัดการกากอุตสาหกรรม ขยะอิเล็กทรอนิกส์ และซากรถยนต์อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ทันต่อการระงับเหตุมิให้บานปลาย โดยมีกระบวนการจัดการรวบรวม คัดแยก ทำลายจำต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพให้ทันสมัย รองรับเทคโนโลยีการผลิตที่มีความซับซ้อนให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันและปกป้องการรั่วไหลของสารพิษลงสู่ชุมชนและ แหล่งน้ำ รวมถึงการเยียวยาแก้ไขปัญหากรณีเกิดการรั่วไหลของสารพิษเป็นไปอย่างล่าช้าติดขัดในขั้นตอนของบประมาณ ทำให้ประชาชนต้องได้รับความเดือดร้อนจากการปนเปื้อนของสารพิษนานนับปี สมควรต้องมีกองทุนอุตสาหกรรมยั่งยืนในการป้องกัน ปกป้อง เยียวยา สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย สุขภาพอนามัยของประชาชน และส่งเสริมผู้ประกอบการสู่อุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็นเศรษฐกิจยุคใหม่เพื่อสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ดูเพิ่มเติมกรมโรงงานอุตสาหกรรมออกประกาศ เรื่อง รายชื่อผู้นำเข้า จำนวนผู้ซื้อ (end user) สารโซเดียมไซยาไนด์ ที่ได้ลงทะเบียนยืนยันตัวตนในระบบแจ้งข้อมูลการซื้อ-ขายวัตถุอันตรายควบคุมพิเศษของกรมโรงงานอุตสาหกรรม และปริมาณสารโซเดียมไซยาไนด์ที่อนุญาตให้นำเข้า โดยมีรายละเอียดดังนี้
ดูเพิ่มเติมในวันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 กระทรวงอุตสาหกรรมเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ ร่าง ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบ การแจ้งมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบ และการรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ....
ดูเพิ่มเติม1. ได้ยกเลิก – ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า พ.ศ. 2547 2. ให้คำจำกัดความของคำว่า "โรงไฟฟ้า" "โรงไฟฟ้าเก่า" "โรงไฟฟ้าใหม่" "โรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิง" "เชื้อเพลิงชีวมวล" และ "ก๊าซชีวภาพ" 3. กำหนดให้อากาศที่ระบายออกจากโรงไฟฟ้าเก่า ต้องมีค่าปริมาณสารเจือปนในอากาศแต่ละชนิด ตามตารางในประกาศฉบับนี้ 4. กำหนดให้อากาศที่ระบายออกจากโรงไฟฟ้าใหม่ ต้องมีค่าปริมาณสารเจือปนไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ ตามตารางในประกาศฉบับนี้ 5. กำหนดให้อากาศที่ระบายออกจากโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิง ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าเก่า หรือโรงไฟฟ้าใหม่ ต้องมีค่าปริมาณสารเจือปนไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ ตามตารางในประกาศฉบับนี้ 6. ให้ค่าปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงไฟฟ้าเก่า ตามข้อ 4 (1) ของประกาศฉบับนี้ มีผลใช้บังคับได้ไม่เกิน วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2575 จากนั้นให้ใช้ค่าปริมาณ สารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงไฟฟ้าใหม่ตามที่กำหนดในประกาศฉบับนี้บังคับแทน 7. กรณีโรงไฟฟ้าใช้เชื้อเพลิงร่วมกันตั้งแต่ 2 ประเภทขึ้นไป ให้คำนวณค่าปริมาณสารเจือปนในอากาศจากผลรวมของค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศของเชื้อเพลิงแต่ละประเภท คูณกับสัดส่วนของความร้อน (Heat Input) ของเชื้อเพลิงประเภทนั้น ๆ ค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศ = AU + BV + CW + DX + EY + FZ เมื่อ A = ค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศเมื่อใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว B = ค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศเมื่อใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว C = ค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศเมื่อใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว D = ค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศเมื่อใช้เชื้อเพลิงชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว E = ค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศเมื่อใช้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว F = ค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศเมื่อใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว U = สัดส่วนของความร้อน (Heat Input) ที่ได้จากเชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน V = สัดส่วนของความร้อน (Heat Input) ที่ได้จากเชื้อเพลิงประเภทน้ำมัน W = สัดส่วนของความร้อน (Heat Input) ที่ได้จากเชื้อเพลิงประเภทก๊าซธรรมชาติ X = สัดส่วนของความร้อน (Heat Input) ที่ได้จากเชื้อเพลิงประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล Y = สัดส่วนของความร้อน (Heat Input) ที่ได้จากเชื้อเพลิงประเภทก๊าซชีวภาพ Z = สัดส่วนของความร้อน (Heat Input) ที่ได้จากเชื้อเพลิงประเภทขยะ 8. การวัดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศแต่ละชนิดที่ระบายออกจากโรงไฟฟ้า ให้วัดอากาศที่ระบายออกจากปล่องในขณะประกอบกิจการโรงงาน 9. การตรวจวัดค่าปริมาณสารเจือปนในอากาศแต่ละชนิดที่ระบายออกจากปล่องโรงไฟฟ้าให้ใช้วิธี ตามประกาศฉบับนี้กำหนด 10. การคำนวณผลการตรวจวัดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศ ให้คำนวณผลที่ความดัน 1 บรรยากาศ หรือ 760 มิลลิเมตรปรอท อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ที่สภาวะแห้ง (Dry Basis) โดยมีปริมาตรออกซิเจนส่วนเกิน (Excess Oxygen) ในการเผาไหม้ร้อยละ 7
ดูเพิ่มเติมกิจการตามบัญชีท้ายประกาศกฎกระทรวงนี้ ไม่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
ดูเพิ่มเติม© 2019 Green and Blue Planet Solutions. All Rights Reserved.