กำหนดให้เจ้าของแหล่งกำเนิดมูลฝอย เช่น อาคาร สถานที่จำหน่ายและสะสมอาหาร หรือโรงงาน จะต้องดำเนินการคัดแยกและจัดเตรียมภาชนะที่ใช้บรรจุขยะมูลฝอยแต่ละประเภทตามคุณสมบัติที่กำหนด รวมถึงการกำกับข้อความหรือสัญลักษณ์แสดงการรองรับของมูลฝอยแต่ละประเภทบนบรรจุภัณฑ์ โดยจะต้องมีจำนวนเพียงพอต่อปริมาณของขยะมูลฝอยที่ก่อกำเนิดในแต่ละวัน โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะต้องควบคุมไม่ให้มูลฝอยที่เป็นสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานปะปนออกมากับมูลฝอยตามข้อบัญญัตินี้
ดูเพิ่มเติมกำหนดให้นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชีที่ 1 และบัญชีที่ 2 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 2 คนและ 20 คนขึ้นไปตามลำดับ ตามที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ดำเนินการประเมินอันตราย ศึกษาผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงาน และจัดทำผลการประเมินอันตราย แผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และแผนควบคุมดูแลลูกจ้างและสถานประกอบกิจการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หรือนับแต่วันที่มีจำนวนลูกจ้างครบตามที่กำหนด แล้วแต่กรณี และจัดให้มีการทบทวนการดำเนินการดังกล่าวทุก ๆ 3 ปี ในกรณีที่มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร อุปกรณ์ วิธีการทำงาน หรือดำเนินการใด ๆ ที่ส่งผลให้สภาวะการทำงานเปลี่ยนแปลงไป นายจ้างจะต้องดำเนินการให้ครอบคลุมทั้งก่อน ระหว่าง และหลังดำเนินการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุง โดยให้แล้วเสร็จไม่เกิน 30 วันและเก็บผลการดำเนินการดังกล่าวไว้ ณ สถานประกอบกิจการเพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัยสามารถตรวจสอบได้
ดูเพิ่มเติมธุรกิจในลักษณะการแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่ายให้แก่กลุ่มลูกค้าประเภทโรงแรม คอนโดมีเนียม หรือบ้านเรือน เพื่อตอบรับกับหนึ่งในวิธีการรักษาสิ่งแวดล้อม
ดูเพิ่มเติมประเทศไทยเป็นประเทศแห่งอุตสาหกรรม จึงทำให้มีโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการดำเนินกิจการต่างๆ ความจำเป็นต้องมีการใช้หรือครอบครองสารเคมี ซึ่งจำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัยด้วยเช่นกัน กรมโรงงานอุตสาหกรรมจึงเล็งเห็นความสำคัญนี้ จึงได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับการจัดการสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 โดยมีวัตถุประสงค์หนึ่งคือการรายงานข้อมูลสารเคมีอันตรายที่มีการเก็บหรือการใช้ในการประกอบกิจการโรงงาน และมีการปรับเปลี่ยนระยะเวลาในการยื่นรายงานดังกล่าวอีกครั้ง โดยออกเป็นประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับการจัดการสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566
ดูเพิ่มเติมประเทศไทยได้แสดงความมุ่งมั่นและตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงต้องมีการติดตามและเฝ้าระวัง เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงต่าง ๆ ที่ประเทศไทยได้ประกาศต่อนานาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง ทั้งการผลิตและการใช้พลังงาน การผลิตสินค้าในภาคอุตสาหกรรม การใช้ประโยชน์ที่ดิน การเกษตรกรรมและการจัดการป่าไม้ รวมถึงของเสียที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ จึงต้องมีการจัดทำรายงานการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร หรือก็คือการประเมินคาร์บอนฟุต พริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint of Organization หรือ CFO) เพื่อช่วยให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถกำหนดนโยบายหรือแนวทางในการบริหารในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับโรงงาน ระดับองค์กร ระดับอุตสาหกรรม และระดับประเทศ
ดูเพิ่มเติม© 2019 Green and Blue Planet Solutions. All Rights Reserved.