ในวันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2568 กรมโรงงานอุตสาหกรรมเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ ร่าง ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบ การแจ้งมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบ และการรายงาน ความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. .... (ครั้งที่ 2)
ดูเพิ่มเติมวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา: 27 มีนาคม พ.ศ. 2568 วันที่มีผลบังคับใช้: 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 เนื้อหาสำคัญ: 1. ได้ยกเลิก – กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานและวิธีการตรวจสอบกลิ่นในอากาศจากโรงงาน พ.ศ. 2548 2. ให้คำจำกัดความของคำว่า “กลิ่น” “ค่าความเข้มกลิ่น” “เขตอุตสาหกรรม” และ “นอกเขตอุตสาหกรรม” 3. กฎกระทรวงนี้บังคับใช้กับโรงงานในประเภท ชนิด หรือขนาดของโรงงานตามที่ระบุในบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ จำนวน 24 รายการ ..........
ดูเพิ่มเติมในวันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2568 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ ร่าง พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ พ.ศ. .... ประเทศไทยมีนโยบายที่จะพัฒนาและส่งเสริมให้มีการผลิตและการใช้พลังงานทางเลือกเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ตามมาตรา ๗๒ (๕) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ถือเป็นทางเลือกที่สำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งยังอาจช่วยลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศที่มีราคาผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้นด้วย ซึ่งในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๕ จึงได้มีมติส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนดำเนินการติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งจะเป็นกฎหมายกลาง ทำให้ประชาชนที่ประสงค์จะติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหลายฉบับเพื่อให้มาซึ่งใบอนุญาตตามกฎหมายนั้น ๆ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กฎหมายว่าด้วยโรงงาน และกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการพลังงาน เป็นต้น กรณีเช่นนี้จึงส่งผลให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น รวมทั้งยังก่อให้เกิดความล่าช้า และไม่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่ประสงค์จะติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
ดูเพิ่มเติมในวันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2568 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ ร่าง กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. .... เนื่องจากกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานาน โดยบางข้อกำหนดอาจไม่สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่ใช้ในปัจจุบัน รวมทั้งถ้อยคำสำนวนบางข้อกำหนดไม่ชัดเจน ดังนั้น เพื่อให้ข้อกำหนดของกฎกระทรวงมีความทันสมัย และปรับปรุงมาตรการที่เพิ่มประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับการทบทวนแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารและทางหนีไฟ การดับเพลิง การป้องกันอัคคีภัยจากแหล่งก่อให้เกิดการกระจายตัวของความร้อน วัตถุไวไฟและวัตถุระเบิด การจัดการของเสียประเภทวัตถุไวไฟ การดำเนินการเกี่ยวกับความปลอดภัยจากอัคคีภัย และการรายงาน โดยต้องปรับปรุงแก้ไขให้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งภายในกฎกระทรวงฉบับนี้จะประกอบไปด้วย
ดูเพิ่มเติมเมื่อวันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 กรมควบคุมมลพิษเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ ร่าง พระราชบัญญัติการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน พ.ศ. .... ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นอย่างมากและอายุการใช้งานสั้นทำให้พบเห็นปะปนอยู่กับมูลฝอยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ต้องกำจัด โดยปัจจุบันมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า 2,000 แห่ง ที่ไม่มีความสามารถให้บริการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยอย่างถูกต้อง ทำให้มีมูลฝอย รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วจำนวนมากตกค้างและหลุดรอดออกสู่สิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์บางชนิดถูกผลิตขึ้นจากวัสดุที่ย่อยสลายยาก ทำให้ยากต่อการย่อยสลายตามธรรมชาติ และจากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าในแต่ละปีมีบรรจุภัณฑ์หลายชนิดหลุดรอดออกไปสู่ท้องทะเลถึงกว่าปีละ 100,000 ตัน ทำให้ประเทศไทยถูกจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ปล่อยมลพิษสู่มหาสมุทร (Jambeck et al. (2015)) นอกจากนี้ การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วที่ปะปนอยู่ไปกับมูลฝอยยังมีข้อจำกัดในแง่ของการนำทรัพยากรกลับมาแปรใช้ใหม่ บรรจุภัณฑ์หลายชนิดประกอบด้วยวัสดุหลายประเภทที่ถูกยึดติดกันทำให้ยากแก่การแปรใช้ใหม่ หรือมีการใช้เทคนิคการผลิต เช่น การพิมพ์สีไปบนเนื้อวัสดุโดยตรงที่ทำให้คุณภาพของวัสดุที่ได้จากการแปรใช้ใหม่ต่ำลง อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนจากการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้มาเป็นบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้งที่มีราคาถูกกว่าและไม่เป็นที่ต้องการของธุรกิจรับซื้อของเก่า ส่งผลให้การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วหลายชนิดกลายเป็นภาระต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องจัดสรรงบประมาณมากขึ้น เพื่อนำมาเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอย และยังต้องจัดสรรพื้นที่สำหรับการฝังกลบมูลฝอย ซึ่งบรรจุภัณฑ์บางประเภทใช้ระยะเวลาการกำจัดที่ยาวนานดังกล่าว จึงเป็นทั้งภาระด้านงบประมาณและด้านการบริหารจัดการเพื่อการกำจัดบรรจุภัณฑ์ จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น สามารถแบ่งได้เป็นแต่ละกรณี ดังนี้
ดูเพิ่มเติม© 2019 Green and Blue Planet Solutions. All Rights Reserved.