ในปัจจุบัน สารเคมีมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ทั้งในฐานะส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิต วัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อการจัดจำหน่าย การเข้าถึงสารเคมีเหล่านี้ในประเทศสามารถดำเนินการผ่านสองช่องทางหลัก ได้แก่ การนำเข้าและการผลิตภายในประเทศ ซึ่งนับเป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจว่าสารเคมีที่เกี่ยวข้องนั้นอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกฎหมายหรือหน่วยงานใดบ้าง

หนึ่งในกฎหมายฉบับหลักที่กำกับดูแลการจัดการสารเคมีโดยตรง คือ “พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535” ซึ่งมีขอบเขตครอบคลุมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตรายอย่างครบวงจร อาทิ การผลิต การนำเข้า การส่งออก และการครอบครอง

เนื่องด้วยความซับซ้อนของบทบัญญัติทางกฎหมายและกระบวนการดำเนินการต่างๆ อาจก่อให้เกิดความสับสนและคำถามจำนวนมากแก่ลูกค้าและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎหมายการจัดการสารเคมี รวมถึงข้อบังคับอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประเด็นสำคัญที่จะมีการอภิปรายในการสัมมนาครั้งนี้ อาทิ

      • ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจใดบ้างที่จำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และกรอบระยะเวลาในการปฏิบัติตามข้อกฎหมายดังกล่าว
      • การเตรียมข้อมูลและเงื่อนไขสำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย
      • ขั้นตอนการยื่นหารือเคมีภัณฑ์ในกรณีที่ข้อมูลผลิตภัณฑ์เป็นความลับทางการค้า และแนวทางการดำเนินการ
      • แนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการ เมื่อส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ปรากฏอยู่ในบัญชีรายชื่อตามประกาศแนบท้ายของกรมโรงงานอุตสาหกรรม
      • แนวทางการดำเนินการในกรณีที่ส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์มีส่วนผสมที่เป็นความลับทางการค้าจากผู้ผลิต
      • ทิศทางและแนวโน้มการพัฒนาข้อกำหนดด้านสารเคมีในอนาคต

ด้วยความมุ่งมั่นของบริษัท กรีน แอนด์ บลู แพลนเน็ต โซลูชั่นส์ (GBP) ในการให้บริการและคำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้ลูกค้ามีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน GBP จึงมีความยินดีขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535” ในวันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2568 เวลา 14:00 – 16:30 น. การสัมมนานี้มุ่งเน้นการนำเสนอข้อกฎหมาย หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง รวมถึงการอธิบายสาระสำคัญในรูปแบบที่ผู้เข้าร่วมสามารถทำความเข้าใจได้อย่างชัดเจน โดยการสัมมนาครั้งนี้จะจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ผู้ที่สนใจเข้าร่วมสามารถศึกษารายละเอียดหัวข้อการบรรยายเพิ่มเติม และลงทะเบียนเข้าร่วมการสัมมนาผ่านแบบฟอร์มด้านล่างนี้

📜รายละเอียดภาพรวมการสัมมนาผ่านโปรแกรม Zoom

หัวข้อการสัมมนา การปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
วันที่และเวลา

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2568
เวลา 14:00 – 16:30 น. **ตามเวลาประเทศไทย**

รายละเอียดค่าบริการ

4,500 บาทต่อท่าน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
     – จะถูกจัดส่งทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้ และทางอีเมลผู้ประสานงานทางบัญชี
     – วิธีการชำระเงินจะเป็นการโอนเงินผ่านธนาคารไปยังบัญชีที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ / invoice ค่าธรรมเนียมการโอนจะเป็นการชำระโดยผู้ลงทะเบียน/ ผู้เข้าร่วมสัมมนา
     – หากผู้เข้าร่วมรับฟังอยู่ต่างประเทศ จะมีการแนบใบเสนอราคาต่างหาก โดยอิงจากค่าเงินปัจจุบัน และผู้เข้าร่วมจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย และค่าธรรมเนียมการโอน
     – กำหนดชำระค่าบริการจะถูกระบุในใบแจ้งหนี้ / invoice

วิธีการเข้าร่วม เข้าร่วมฟังสัมมนาผ่าน Zoom Application (ฟังก์ชัน Zoom Webinar) ในวันและเวลาที่จัดสัมมนา **โปรดตรวจสอบการใช้งานว่าสามารถเข้าฟังได้โดยไม่ขัดกับนโยบายบริษัทของท่าน
     – เมื่อผู้ลงทะเบียนได้รับการยืนยันข้อมูลจากทางเจ้าหน้าที่แล้ว ผู้ลงทะเบียนจะได้รับอีเมลตอบกลับเพื่อลงทะเบียนในส่วนของระบบ zoom อีกครั้งหนึ่ง
     – เอกสารประกอบการบรรยายจะทำการจัดส่งให้ผู้เข้าร่วมรับฟังล่วงหน้าก่อนวันเริ่มการสัมมนาออนไลน์ **ขอสงวนสิทธิ์เฉพาะผู้เข้าร่วมรับฟังเท่านั้น
     – การเข้าร่วมรับฟังสัมมนาออนไลน์ เป็นลักษณะถ่ายทอดสดซึ่งให้สิทธิ์เฉพาะผู้เข้าร่วม และไม่สามารถทำการบันทึกวีดีโอแจกจ่ายวีดีโอดังกล่าวได้
     – ขอสงวนสิทธิ์สำหรับผู้เข้ารับฟังซึ่งลงทะเบียนโดยใช้อีเมลในนามบริษัทเท่านั้น
ขั้นตอนการลงทะเบียน 1. ลงทะเบียนในแบบฟอร์มด้านล่าง
     ผู้ลงทะเบียนจะได้รับอีเมลยืนยันภายใน 3 วันทำการ (จ-ศ)
     เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลแล้ว ผู้ลงทะเบียนจะได้รับอีเมลอีกฉบับ ซึ่งอธิบายรายละเอียดขั้นตอนการเข้าฟังและวิธีการรับเอกสารประกอบการบรรยาย
2. ผู้ลงทะเบียนจะได้ลิงค์การลงทะเบียนผ่านระบบ zoom.us โดยระบุ ชื่อ นามสกุล อีเมลติดต่อ บริษัท และตำแหน่งของผู้ลงทะเบียนในการเข้าร่วมรับฟังผ่านระบบ zoom.us
3. หลังจากเสร็จสิ้น อีเมลจะถูกส่งโดยอัตโนมัติจาก “no-reply@zoom.us” ซึ่งผู้ลงทะเบียนสามารถใช้ url ดังกล่าวในการเข้าร่วมรับฟังสัมมนาในวันเวลาที่กำหนด
การลงทะเบียน/ สอบถาม กรุณาลงทะเบียนผ่านแบบฟอร์มบนหน้าเว็บไซต์ โดยระบบจะปิดรับลงทะเบียนในวันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2568 เวลา 17:00 น.
กรณีพบข้อสงสัยติดต่อสอบถามได้ ที่นี่ หรือทางโทรศัพท์ 02-120-7621

 

📅หัวข้อการบรรยายและแนะนำวิทยากร

14:00-14:10 น. แนะนำบริษัทและบริการของ GBP
14:10 – 14:50 น. การปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
     – แนะนำเกี่ยวกับวัตถุอันตรายในประเทศไทย
     – พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
     – กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับภายในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย
          > บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย
          > การขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย
          > การแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2
          > การขออนุญาตวัตถุอันตราย
          > การแจ้งข้อเท็จจริงของวัตถุอันตราย
          > การเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย
          > การจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย
          > ข้อยกเว้นในการควบคุมวัตถุอันตรายที่สำคัญ
14:50-15:00 น. พักเบรค
15:00-15:50 น. การปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 (ต่อ)
     – ขั้นตอนการดำเนินการด้านวัตถุอันตราย
          > การหารือเคมีภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์
          > วัตถุอันตรายชนิดที่ 1
          > วัตถุอันตรายชนิดที่ 2
          > วัตถุอันตรายชนิดที่ 3
          > การแจ้งข้อเท็จจริงวัตถุอันตรายตามแบบ วอ./อก. 6
          > การแจ้งข้อเท็จจริงวัตถุอันตรายตามแบบ วอ./อก. 7
          > การแจ้งข้อเท็จจริงวัตถุอันตรายตามแบบ วอ./อก. 32
     – บทลงโทษ
     – แนวโน้มในอนาคตของวัตถุอันตราย
15:50-16:00 น. พักเบรค และช่วงการส่งคำถาม
16:00-16:30 น. Q&A
แนะนำวิทยากร ธนวัฒน์ ทองสุกแสง / ธัญชนก กิจเจริญ ที่ปรึกษาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและสารเคมี บริษัท Green and Blue Planet Solutions Co., Ltd.
     ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงดำเนินการตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เพื่อสนับสนุนกระบวนการผลิต นำเข้า ส่งออก และครอบครองมามากกว่า 5,000 ผลิตภัณฑ์ ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยครอบคลุมวัตถุอันตรายประเภทที่ 1 – 3 ซึ่งรวมถึงการดำเนินการสำหรับกรณีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เป็นความลับทางการค้า (CBI; Confidential Business Information) ตลอดจนการแจ้งข้อเท็จจริงต่างๆ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้รับผิดชอบ

การลงทะเบียน

ข้อมูลผู้ลงทะเบียน


ข้อมูลสำหรับออกใบเสร็จ


ข้อมูลอื่นๆ


ข้อตกลงการใช้งานแล้ว
นโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

หากมีคำถามหรือต้องการความช่วยเหลือ กรุณาติดต่อเรา