ทำความรู้จักกับก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas)

“Greenhouse gases” หรือที่เราอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า “ก๊าซเรือนกระจก” เป็นแก๊สชนิดที่ล่องลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก และสามารถกักเก็บและแผ่รังสีความร้อนที่มาจากการปลดปล่อยของโลกได้ ซึ่งหากมีในปริมาณที่พอดีพอเหมาะจะทำให้โลกอบอุ่นและเหมาะแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอย่างเรา ๆ แต่ถ้าหากมีปริมาณที่มากเกินไปจนทำให้รู้สึกร้อนเช่นในปัจจุบัน อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางลบเพิ่มขึ้นได้

กิจกรรมและการกระทำของมนุษย์ถือว่าเป็นตัวการสำคัญของการทำให้เกิดแก๊สเรือนกระจก และปลดปล่อยมันสู่ชั้นบรรยากาศโลกของเรา แก๊สเรือนกระจกมีหลากหลายชนิด แต่มักจะให้ความสำคัญอยู่ 7 ชนิดเนื่องจากพบได้มาก ได้แก่

    1. Carbon dioxide (CO2)
    2. Methane (CH4)
    3. Nitrous oxide (N2O)
    4. Perfluorocarbons (PFCs)
    5. Hydrofluorocarbons (HFCs)
    6. Nitrogen Trifluoride (NF3)
    7. Sulfur hexafluoride (SF6)

ซึ่งมาจากการการเผาเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า กิจกรรมต่างๆในภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง รวมถึงในด้านเกษตรกรรม หรือการใช้รถ ใช้ถนน รวมถึงสารทำความเย็นจากการใช้เครื่องปรับอากาศ ซึ่งเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวันเราสามารถส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ ดังนั้นหากลดการเกิดกิจกรรมเหล่านี้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกก็จะน้อยลง ซึ่งช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเราในอนาคตได้เช่นเดียวกัน