คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานที่มีหน้าที่หลักในการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าในประเทศไทย ได้ออกประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การให้บริการและการกำหนดอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tariff) พ.ศ. 2566 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2566 ในราชกิจจานุเบกษาอย่างเป็นทางการ

     Utility Green Tariff (UGT) เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ไฟฟ้าเข้าถึงพลังงานที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนได้ เพื่อเป็นแนวทางไปสู่เป้าหมาย Net-Zero ของประเทศไทย โดยกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภทสามารถซื้อไฟฟ้าและใบรับรองพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่ในระบบได้

     สำหรับประกาศฉบับนี้ ฯ เป็นการกำหนดโครงสร้างทั่วไปของระบบ UGT อีกทั้งยังไม่มีการกำหนดราคาโดยละเอียดหรือรายละเอียดอื่นๆ  การวางแผนนำระบบ UGT ไปใช้ในอนาคตเป็นที่น่าจับตามองเนื่องจากระบบ UGT อาจจะสอดคล้องกับแนวโน้มในต่างประเทศ เช่น กลไกการปรับคาร์บอนข้ามเขตแดนของสหภาพยุโรป (Carbon Border Adjustment Mechanism / CBAM) ภาคอุตสาหกรรมควรจะต้องพิจารณารายละเอียดอย่างรอบคอบที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจไทยจะไม่เสียเปรียบในตลาดโลก

โครงสร้างระบบ UGT ถูกแบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้

  • UGT 1 : ระบบนี้จะมีการจัดเตรียมใบรับรองพลังงานหมุนเวียนจากโรงไฟฟ้าที่มีอยู่ในระบบของรัฐบาล (โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดใหญ่) ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ใช้ระบบ UGT 1 จะสามารถซื้อไฟฟ้าพร้อมกับใบรับรองพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้ได้พร้อมกัน
  • UGT 2 : ระบบนี้จะมีการจัดเตรียมใบรับรองพลังงานหมุนเวียนจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมของั้งภาครัฐและเอกชนที่มีอยู่และโครงการใหม่ โดยระบบนี้จะเจาะจงกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ และสัญญาของระบบ UGT2 จะมีอายุ 10 ปี ใน UGT2 จะแบ่งโรงไฟฟ้าออกเป็น 2 กลุ่มซึ่งจะแตกต่างกันที่วันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD)

นอกจากนี้บริษัท กรีน แอนด์ บลู แพลนเน็ต โซลูชั่นส์  จำกัด ยังมีบริการเกี่ยวกับการซื้อ-ขายใบรับรองพลังงานหมุนเวียน ( International Renewable Energy Certificates / I-REC) ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศตามราคาที่สมเหตุสมผลของ I-REC หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือใบเสนอราคาเกี่ยวกับ I-REC โปรดติดต่อเราที่นี่