ระยะเวลาเปิดรับฟังความคิดเห็น: 11 กุมภาพันธ์ – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เนื้อหาสำคัญ:
เมื่อวันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 กรมควบคุมมลพิษเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ ร่าง พระราชบัญญัติการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน พ.ศ. ….
ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นอย่างมากและอายุการใช้งานสั้นทำให้พบเห็นปะปนอยู่กับมูลฝอยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ต้องกำจัด โดยปัจจุบันมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า 2,000 แห่ง ที่ไม่มีความสามารถให้บริการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยอย่างถูกต้อง ทำให้มีมูลฝอย รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วจำนวนมากตกค้างและหลุดรอดออกสู่สิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์บางชนิดถูกผลิตขึ้นจากวัสดุที่ย่อยสลายยาก ทำให้ยากต่อการย่อยสลายตามธรรมชาติ และจากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าในแต่ละปีมีบรรจุภัณฑ์หลายชนิดหลุดรอดออกไปสู่ท้องทะเลถึงกว่าปีละ 100,000 ตัน ทำให้ประเทศไทยถูกจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ปล่อยมลพิษสู่มหาสมุทร (Jambeck et al. (2015)) นอกจากนี้ การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วที่ปะปนอยู่ไปกับมูลฝอยยังมีข้อจำกัดในแง่ของการนำทรัพยากรกลับมาแปรใช้ใหม่ บรรจุภัณฑ์หลายชนิดประกอบด้วยวัสดุหลายประเภทที่ถูกยึดติดกันทำให้ยากแก่การแปรใช้ใหม่ หรือมีการใช้เทคนิคการผลิต เช่น การพิมพ์สีไปบนเนื้อวัสดุโดยตรงที่ทำให้คุณภาพของวัสดุที่ได้จากการแปรใช้ใหม่ต่ำลง อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนจากการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้มาเป็นบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้งที่มีราคาถูกกว่าและไม่เป็นที่ต้องการของธุรกิจรับซื้อของเก่า ส่งผลให้การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วหลายชนิดกลายเป็นภาระต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องจัดสรรงบประมาณมากขึ้น เพื่อนำมาเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอย และยังต้องจัดสรรพื้นที่สำหรับการฝังกลบมูลฝอย ซึ่งบรรจุภัณฑ์บางประเภทใช้ระยะเวลาการกำจัดที่ยาวนานดังกล่าว จึงเป็นทั้งภาระด้านงบประมาณและด้านการบริหารจัดการเพื่อการกำจัดบรรจุภัณฑ์ จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น สามารถแบ่งได้เป็นแต่ละกรณี ดังนี้
-
-
- ปัญหาจากการออกแบบและการผลิต โดยปัจจุบันบรรจุภัณฑ์ที่ใช้อยู่โดยทั่วไปยังไม่มีการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม (Design for Environment : DfE) หรือยังมีไม่มากเท่าที่ควร เนื่องจากไม่มีมาตรการทางกฎหมายมาสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ผู้ผลิตปรับปรุงหรือพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของตนให้มีการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงไม่มีกลไกเพื่อจำระบุประเภทของบรรจุภัณฑ์ดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถจำแนกประเภทของบรรจุภัณฑ์เพื่อการแปรใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึง ขาดกลไกสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาการใช้วัสดุทดแทนที่สามารถนำมาแปรใช้ใหม่ได้ ทำให้วัสดุทดแทนที่มีอยู่ในตลาดมีราคาแพง
-
-
-
- ปัญหาจากการบริโภค เพราะการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มากเกินความจำเป็น เนื่องจากความสะดวกและราคาถูกสำหรับสถานประกอบการที่เป็นผู้ให้และประชาชนที่เป็นผู้รับ และพฤติกรรมการบริโภคของสังคมไทยนิยมใช้บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้ใช้แบบครั้งเดียว (Single Use) และการใช้บรรจุภัณฑ์บรรจุอาหารทำให้เกิดการปนเปื้อนและกลายเป็นขยะ ส่งผลให้ยากต่อการนำกลับมาใช้ซ้ำหรือนำกลับมาแปรใช้ใหม่ รวมถึงยังไม่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือการควบคุมการใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียว ส่งผลให้การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เพราะเป็นเพียงการรณรงค์สร้างการมีส่วนร่วมเท่านั้น
-
-
-
- ปัญหาการจัดการบรรจุภัณฑ์ภายหลังการบริโภค เนื่องจากความร่วมมือและความตระหนักจากประชาชน ในการลดและคัดแยกบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วยังมีน้อย และการให้บริการเก็บขนขยะไม่ทั่วถึงทำให้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วบางส่วนลงสู่แหล่งน้ำและออกสู่ทะเล เกิดปัญหาขยะทะเลและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตในทะเล อีกทั้งยังขาดระบบรวบรวมและเก็บขนเพื่อนำกลับไปหมุนเวียนเป็นวัตถุดิบใหม่ (Circular Economy) ทำให้ต้องนำไปกำจัดโดยการเผาและฝังกลบ โดยการฝังกลบต้องใช้เวลาในการย่อยสลายยาวนานหลายร้อยปี ทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ฝังกลบและเป็นปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางดินและทางน้ำ สำหรับการเผา ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและยังไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ รวมถึงไม่มีกฎหมายที่ส่งเสริมการคัดแยกและการนำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วกลับมาใช้ประโยชน์ หรือแปรใช้ใหม่
-
และเป้าหมายของการออกพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
-
-
- ส่งเสริมการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนตลอดวัฏจักรชีวิตของบรรจุภัณฑ์
- สร้างระบบการจัดการบรรจุภัณฑ์ให้เกิดการใช้ทรัพยากรและวัตถุดิบอย่างคุ้มค่า
- เพิ่มสัดส่วนการใช้ซ้ำและการใช้วัสดุจากการแปรใช้ใหม่ของบรรจุภัณฑ์ ป้องกันและแก้ไขปัญหาบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วหลุดรอดออกสู่สิ่งแวดล้อม
-
ซึ่งภายในพระราชบัญญัติฉบับนี้จะประกอบไปด้วย
-
-
- หมวด 1: นโยบายการส่งเสริมการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน
- ส่วนที่ 1: คณะกรรมการนโยบายการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน
- ส่วนที่ 2: คณะกรรมการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน
- ส่วนที่ 3: นโยบายและแผนส่งเสริมการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน
- หมวด 2: การบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน
- ส่วนที่ 1: การจัดการต้นทาง
- ส่วนที่ 2: การจัดการกลางทาง
- ส่วนที่ 3: การจัดการหลังการบริโภค
- หมวด 3: การจัดการบรรจุภัณฑ์ตามหลักความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต
- ส่วนที่ 1: ประเภทและชนิดบรรจุภัณฑ์
- ส่วนที่ 2: หน้าที่ของผู้ผลิต
- ส่วนที่ 3: หน้าที่ขององค์กรรับผิดชอบจัดการบรรจุภัณฑ์
- ส่วนที่ 4: หน้าที่ของผู้บริโภค ผู้จำหน่าย ผู้เก็บรวบรวมบรรจุภัณฑ์และสถานที่แปรใช้ใหม
- ส่วนที่ 5: หน้าที่และอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- หมวด 4: แผนความรับผิดชอบการจัดการบรรจุภัณฑ์
- หมวด 5: การตรวจสอบและควบคุม
- หมวด 6: บทกำหนดโทษ
- บทเฉพาะกาล
- อัตราค่าธรรมเนียม
- หมวด 1: นโยบายการส่งเสริมการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน
-