การผลิตและการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต

มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050

ปัจจุบัน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั่วโลกกำลังเร่งดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อ้างอิงจากการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ในปี พ.ศ.2564 ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญ คือ การควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส และไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อเทียบตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว ทั่วโลกจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในปี พ.ศ.2593 ด้วยเหตุนี้ หน่วยงานต่างๆจึงจำเป็นต้องเร่งกำหนดมาตรการในการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจังเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้

คาร์บอนเครดิต คืออะไร?

คาร์บอนเครดิต คือ สิทธิที่แสดงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สามารถลดหรือกักเก็บได้จากการดำเนินโครงการที่มีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม คาร์บอนเครดิตที่ถูกรับรองจากหน่วยงานที่ได้มาตรฐานสามารถซื้อขายในรูปแบบของคุณลักษณะด้านสิ่งแวดล้อม (environmental attributes) ได้ ในหน่วยตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq)
ตลาดคาร์บอนแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Mandatory Carbon Market) และตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market) ซึ่งกลไกของตลาดคาร์บอนได้ถูกกำหนดโดยองค์กรระหว่างประเทศและรัฐบาลระดับชาติเพื่อเป็นตลาดกลางในการซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต เช่น กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism) ที่เกิดขึ้นภายใต้พิธีสารเกียวโต และกลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism) ที่ริเริ่มโดยรัฐบาลญี่ปุ่น เป็นต้น สำหรับตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจที่ดำเนินการโดยองค์กรเอกชน เช่น NPOs ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน

 

ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ
ดำเนินการโดยองค์การสหประชาชาติ (UN) ดำเนินการโดยองค์กรระดับประเทศ / ภูมิภาค ดำเนินการโดยองค์กรเอกชน
Clean Development Mechanism (CDM) Joint Crediting Mechanism หรือ JCM (ประเทศญี่ปุ่น), Klik (ประเทศสวิตเซอร์แลนด์) เป็นต้น Verified Carbon Standard (VERRA, ประเทศสหรัฐอเมริกา) , The Gold Standard (สำนักงานเลขาธิการ The Gold Standard ประเทศสวิตเซอร์แลนด์)  เป็นต้น

 

ความแตกต่างระหว่างคาร์บอนเครดิตกับใบรับรองพลังงานหมุนเวียน คือ ?

“ใบรับรองพลังงานหมุนเวียน” (REC) เป็นระบบการรับรองการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยหน่วยพลังงานหมุนเวียนที่ถูกผลิตขึ้นสามารถซื้อ-ขายในรูปของใบรับรองพลังงานหมุนเวียนได้ พลังงานหมุนเวียนในที่นี้รวมถึง พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานชีวมวล
ในทางกลับกัน “คาร์บอนเครดิต” เป็นหน่วยหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากโครงการต่างๆ ซึ่งสามารถซื้อ-ขายได้เช่นกัน คาร์บอนเครดิตมีที่มาจากโครงการหลากหลายประเภท เช่น การปลูกป่าหรือการอนุรักษ์ป่า เทคโนโลยีการประหยัดพลังงาน และการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ เป็นต้น

 

ความแตกต่าง ใบรับรองพลังงานหมุนเวียน (I-REC) คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)
หน่วย คำนวณจากพลังงานไฟฟ้า :เมกะวัตต์ชั่วโมง (MWh) ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า:tCO2eq
แหล่งที่มา การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานชีวมวล โครงการที่มีส่วนช่วยในการลดและกักเก็บก๊าซเรือนกระจก
เป้าหมาย ใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 2 โดยการจัดหาใบรับรองที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน ใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 1, 2 และ 3
การอ้างสิทธิ์โดยผู้ซื้อคาร์บอนเครดิต พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ถูกผลิตจากพลังงานหมุนเวียนซึ่งมีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับองค์กรหรือหน่วยงาน
การตรวจสอบการพิสูจน์การดำเนินงานเพิ่มเติมจากการดำเนินงานปกติ (additionality) ในขั้นตอนการขอรับรองเครดิต ไม่มี มี
ข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์สำหรับการใช้งาน มีข้อจำกัด ไม่มี
ข้อจำกัดด้านระยะเวลาในการใช้งาน (ปี) มีข้อจำกัด ไม่มีกำหนด

 

โครงการคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจคืออะไร?

คาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจเป็นกลไกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยคาร์บอนเครดิตภาคสมัครเหล่านี้จะถูกรับรองโดยองค์กรเอกชนชั้นนำ เช่น NGOs และบริษัทชั้นนำต่างๆ ซึ่งจะแตกต่างจากระบบที่พัฒนาโดยองค์การสหประชาชาติหรือภาครัฐ นอกจากนี้ยังมีการชดเชยคาร์บอนภาคสมัครใจโดยบริษัทชั้นนำต่างๆ เช่น โครงการ Carbon Offsetting and Reduction Scheme for International Aviation (CORSIA) ที่ได้รับการยอมรับให้เป็นคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจที่ตรงกับมาตรฐานระดับโลก

 

โปรแกรมรับรองคาร์บอนเครดิต องค์กรที่รับผิดชอบ ชื่อหน่วยคาร์บอนเครดิต รายละเอียด
Verified Carbon Standard (VCS) Verra (USA) Verified Carbon Unit (VCU) เป็นโครงการภาคเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในด้านการสร้างเครดิต และด้านปริมาณที่ซื้อ-ขาย โดยมีโครงการหลากหลายประเภทจากทั่วโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียน
The Gold Standard (GS) The Gold Standard Secretariat (Switzerland) Verified Emission Reduction (VER) เป็นโครงการที่ก่อตั้งโดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าสากลโลกและองค์การอื่นๆ ที่มุ่งเน้นการรับรองคาร์บอนเครดิตคุณภาพสูงจากโครงการที่ยั่งยืน
American Carbon Registry Winrock International (USA) Emission Reduction Tonne (ERT) ระบบการให้เครดิตระบบแรกของโลกทีก่อตั้งโดย Winrock International ในปี 2539
Climate Action Reserve (CAR) Climate Action Reserve (USA) Climate Reserve Tonne (CRT) โปรแกรมที่ต่อยอดมาจาก California Climate Action Registry ซึ่งก่อตั้งโดยรัฐบาลแคลิฟอร์เนียในสหรัฐอเมริกาในปี 2544 โดยมีเป้าหมายเพื่ออเมริกาเหนือและเม็กซิโก
Global Carbon Council (GCC) Gulf Organization Research & Development (GORD, Qatar) Approved Carbon Credits (ACC) โครงการที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกกลาง ก่อตั้งขึ้นโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับ CORSIA

 

ข้อกำหนดสำหรับคาร์บอนเครดิตที่มีคุณภาพ

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ทาง Integrity Council for the Voluntary Carbon Market (ICVCM) ได้ออกมาตรการที่เรียกว่า Core Carbon Principles (CCPs) ซึ่งเป็นมาตรการมุ่งเน้นการประเมินคุณภาพของคาร์บอนเครดิต โดยมาตรการ 10 ข้อที่กำหนดโดย CCPs มีดังนี้

A) การกำกับดูแล

  • การกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ
  • การติดตามตรวจสอบ
  • ความโปร่งใส
  • การตรวจสอบและการรับรองโดย Third-party อย่างเข้มงวด

B) ผลกระทบต่อการปล่อยมลพิษ

  • การพิสูจน์การดำเนินงานเพิ่มเติมจากการดำเนินงานปกติ (Additionality)
  • ความคงทน (Permanence)
  • การตรวจวัดปริมาณการลดและกำจัดการปล่อยมลพิษที่มีประสิทธิภาพ
  • การหลีกเลี่ยงการนับซ้ำ (double counting)

C) การพัฒนาที่ยั่งยืน

  • ประโยชน์และการป้องกันเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • การสนับสนุนที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ Net-Zero

ข้อมูลการให้บริการ

[การสร้างคาร์บอนเครดิตจากโครงการลดคาร์บอน]
หากท่านมีคำถามเกี่ยวกับการสร้างคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจจากโครงการที่มีส่วนช่วยในการลดคาร์บอน เช่น

  • โครงการลดคาร์บอนของเรามีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดสำหรับการลงทะเบียนหรือไม่ ?
  • เราควรสมัครโปรแกรมใด ?
  • ใบรับรองพลังงานหมุนเวียน (I-REC) หรือคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) อย่างไหนดีกว่ากัน ?

การลงทะเบียนและการรับรองคาร์บอนเครดิตเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน มีหน่วยงานต่างๆที่ดูแลการทวนสอบคาร์บอนเครดิตทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากประเภทของโครงการลดคาร์บอนมีหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยีหรือวิธีการโดยธรรมชาติ ทำให้ข้อกำหนดในการลงทะเบียนและการขอรับรองมีความแตกต่างกัน
ปัจจุบัน GBP กำลังพัฒนาโครงการคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจในต่างประเทศ หากคุณกำลังสนใจพัฒนาโครงการคาร์บอนเครดิต โปรดติดต่อเรา

[การจัดหา การแลกเปลี่ยน และการใช้คาร์บอนเครดิต]
โปรดติดต่อเรา เพื่อขอคำปรึกษาและการประมาณการที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา การแลกเปลี่ยน และการใช้คาร์บอนเครดิต